ภารกิจ...หกงานประจำปี

1.งานสมโภชศาลหลักเมือง ตามประเพณีการสร้างเมืองแต่โบราณสืบเนื่องกันมาเมื่อมีการสร้างบ้าน สร้างเมืองขึ้นณที่แห่งใดก็จำเป็นจะต้องมีหลักเมืองควบคู่กันไปการสร้าง หลักเมืองไม่เกี่ยวกับลัทธิศาสนาใดๆทั้งสิ้นแต่เป็นสัญลักษณ์แสดงว่าเมื่อ สร้างหลักเมืองเสร็จแล้วบ้านเมืองจะได้สถิตสถาพรยืนนานประชาชนพล เมืองจะได้อยู่เย็นเป็นสุขปราศจากภัยพิบัติทั้งปวงและเป็นหลักชัยที่จะนำ ความสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลมาสู่จังหวัดเป็นนิมิตมงคลแห่งความร่วมมือ สามัคคีกลมเกลียวกันเนื่องจากตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่ปรากฏ ว่าจังหวัดนครสวรรค์มีหลักเมืองมาก่อนเพื่อให้บ้านเมืองเป็นไปตามวัตถ ุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์(นายวิทยาเกษรเสว ภาค)จึงได้ขออนุญาตสร้างหลักเมืองไปยังกระทรวงมหาดไทยกระทรวง มหาดไทยก็ได้พิจารณาเห็นชอบด้วยได้ตอบอนุญาตให้สร้างขึ้นได้ตาม ความประสงค์อาคารศาลและหลักเมืองแห่งนี้ออกแบบโดยกรมศิลปากร

ตลอดระยะเวลาที่มีงานพี่น้องประชาชนได้มาสักการะบูชาศาลหลักเมือง และบริจาคเงินทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวในคืนวัน ที่13เม.ย.ได้มีการประมูลสิ่งของวัตถุมงคลต่างๆเพื่อนำไปสักการะบูชา

คณะกรรมการจัดงานเจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพนั้นจะมีจำนวน40ท่านและจะมีวาระอยู่1ปีเมื่อหมดปีแล้ว จะทำการคัดเลือกใหม่ส่วนผู้ที่ เคยเป็นกรรมการชุดเก่าจะหมดสิทธิ์ที่จะได้รับการคัดเลือกในปีต่อๆ ไปจนกว่าจะครบกำหนดห้าปีแล้วในการคัดเลือกหากรรมการที่จะเข้ารับภาระหน้าที่ในปีต่อไปนั้นทาง คณะกรรมการชุดเก่าจะนำรายชื่อผู้บริจาคและบริษัทห้างร้านต่างๆในตลาดปากน้ำโพไปทำการเสี่ยง ทายในพิธีการเสี่ยงทายเพื่อให้องค์เจ้าพ่อเจ้าแม่เป็นผู้คัดเลือกโดยนำรายชื่อครั้งละห้าท่านมาเสี่ยง ทายโดยใช้"ปั๊วปวย"ซึ่งเป็นไม้ที่มีลักษณะเป็นรูปจันทร์ครึ่งเสี้ยวมีสีแดงสองชิ้นมาโยนเสี่ยงทายสาม ครั้งสองครั้งแรกไม้จะต้องคว่ำหนึ่งอันและหงายหนึ่งอันส่วนครั้งที่สามไม้จะต้องคว่ำหมดทั้งสองอันจน ได้ครบจำนวนสี่สิบท่านจึงจะถือว่าเจ้าพ่อเจ้าแม่ได้ทำการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการในปีต่อไปนั้นสำ หรับคณะกรรมการจัดงานเจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพปี2544-2545จำนวนสี่สิบท่านนั้นมีภาระกิจที่จะ ต้องเป็นผู้ดำเนินการจัดงานประจำปีรวมทั้งหมดหกงานประจำปี คือ

2. งานสรงน้ำเจ้าพ่อ - เจ้าแม่หน้า ผาในเทศกาลสงกรานต์ มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่ามีตายายคู่หนึ่งได้ฝัน เห็นว่ามีหญิงชราผมยาวเนื้อตัวเปียกปอนมา บอกว่าลอยน้ำมาจากอยุธยาถึงนครสวรรค์ หนาวมากขอให้เอาขึ้นจากน้ำทีเถอะพอรุ่งเช้า จึงได้ไปริมแม่น้ำซึ่งมีลักษณะเป็นบริเวณน้ำ วนที่นั้นมีหน้าผาค่อนข้างสูงชาวบ้านจึงเรียก กันว่า"หน้าผา"ได้พบไม้จันทร์ดำขนาดกว้าง 1ฟุตสูง2ฟุตแกะเป็นรูปเจ้าแม่ติดอยู่ซอกหิน รวมกับไม้ที่แกะเป็นรูปอื่นๆได้อัญเชิญขึ้นมา พร้อมกันและได้สร้างศาลไม้ไว้บริเวณริมแม่น้ำ

ต่อมา เถ้าแก่ง่วนเซ้ง เจ้าของโรงแรมง่วนเซ้ง และเจ้าของโรงไม้ขายกระดาน อยู่บริเวณที่จอดรถถาวร ฟาร์ม(เดิม)ได้ฝันว่ามีหญิงชราผมยาวมาขอให้ไปช่วยสร้างศาลให้ท่านเถ้าแก่ง้วนเซ้งฝันถึงเช่นนี้3วันจึง ได้ไปบอกกับนายคุงเคี้ยมให้ช่วยเดินทางหาเจ้าแม่ที่มาเข้าฝันวันแรกและวันที่สองเดินทางหาเลียบตาม แม่น้ำขึ้นไปทางเหนือเริ่มตั้งแต่ตรอกวิศวกรไทย(ปัจจุบันอยู่หน้าวัดนครสวรรค์)ขึ้นไปจนถึงบริเวณหน้า ผาได้เห็นศาลไม้หลักๆที่ได้สร้างไว้ชั่วคราวที่ริมแม่น้ำจึงได้ขอที่ดินชาวบ้านแถวนั้นสร้างเป็นศาลเจ้าให้ ท่าน(บริเวณที่เป็นศาลเจ้าปัจจุบัน)และได้พัฒนามาเรื่อยๆจนเป็นศาลใหญ่เจ้าแม่หน้าผามีชื่อเดิมเรียก ว่าเจ้าแม่ทองสุขหรือเจ้าแม่ลำดวนมีผู้คนทั่วไปนับถือแม้แต่ลาวโซ่งก็เรียกว่า"เจ้าแม่ทองดำ"เนื่องจาก รูปเจ้าแม่เดิมนั้นใช้ไม้จันทร์ดำแกะสลักเชื่อว่าเจ้าแม่ชอบกินหมากปัจจุบันได้ปั้นรูปเจ้าแม่และเปลี่ยน เครื่องทรงเป็นแบบจีนและรู้จักกันในนาม"เจ้าแม่หน้าผา"ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีคณะกรรม การจัดงานเจ้าพ่อเจ้าแม่ได้อัญเชิญ องค์เจ้าพ่อ - เจ้าแม่ออกมาให้ประชาชนได้สักการะบูชาและสรงน้ำ
หน้าต่อไป           กลับหน้าหลัก

หน้า 1 2